ยางแบบไหนที่ทนทาน และ เหมาะสมกับการใช้งานของรถเรา

อัพเดทเมื่อ Mon Apr 26 2021

https://tiresbid-images.s3.ap-southeast-1.amazonaws.com/2021-01-13/152728-1610526448----715x380-09.12.2020.webp
สวัสดีครับ วันนี้ไทร์บิดกลับมาอีกครั้งกับความเข้าใจที่ไม่ถูกซะทีเดียวกับเรื่องชั้นผ้าใบกับการรับน้ำหนักของยาง เพื่อนๆหลายท่านมีคำถามที่ว่ายางยางผ้าใบกี่ชั้น ซึ่งเข้าใจว่ายิ่งชั้นผ้าใบเยอะจะยิ่งรับน้ำหนักได้มาก แต่จริงๆแล้วนั้นก็มีถูกส่วนหนึ่งครับ เพราะจริงๆแล้วการรับน้ำหนักของยางนั้นมีหลายๆส่วนประกอบที่จะทำให้ยางนั้นรับน้ำหนักได้ดี โดยทางเราจะมาอธิบายแต่ละอย่างก่อนว่าต่างกันยังไงครับ




ชั้นผ้าใบ 4PR 6PR 8PR หรือเพื่อนๆอาจจะพูดว่าชั้นผ้าใบ 4 ชั้น 6 ชั้น 8 ชั้น ซึ่งชั้นผ้าใบเวลาผู้ผลิตนั้นจะทำการทดสอบโดยการใช้เหล็กแท่งกดบริเวณหน้ายาง ซึ่งการคำนวนแต่ละกี่ชั้นผ้าใบนั้นจะมีผลมาจากหน้ายางนั้นสามารถทนแรงกดได้กี่แรงนิวตัน ซึ่งการทดสอบนี้จะเป็นการทดสอบดูว่าโครงยางนั้นมีความแข็งแรงมากน้อยเท่าไหร่ ซึ่งจะส่งผลต่อการใช้งานอยู่ ว่ายางนั้นสามารถรับแรงกระแทกเมื่อใช้งานได้มากน้องเท่าใด โดยเมื่อมาเปรียบเทียบกับการใช้งานจริงก็จะเป็นเมื่อตอนถูกกระแทกหรือตกหลุมยางจะมีโอกาสเสี่ยงต่อความคงทนมากน้องเพียงไหน โดยอิงจากชั้นผ้าใบยิ่งเยอะก็แปลว่ายิ่งแข็งแรงมากกว่า




ซึ่งสำหรับเพื่อนๆที่ใช้รถเพื่อการบรรทุกของนั้นไทร์บิดเชื่อว่าอย่างแรกเลยทุกท่านๆต้องเติมลมเยอะๆไว้ก่อนซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกต้องครับหากยิ่งเพื่อนๆเติมลมมากเท่าไหร่ ลมจะช่วยส่งเสริมให้ยางสามารถรับน้ำหนักได้ดีขึ้น โดยเมื่อเพื่อนๆเลือกเลือกยางที่มีชั้นผ้าใบเยอะเป็นสิ่งที่ถูกโดยจะช่วยในการลดโอกาสเสี่ยงจากการระเบิดเสียหายจากแรงกระแทกได้ดีขึ้นแต่ว่าต้องบอกว่ายางก็เหมือนลูกโป่งครับ ยิ่งเราเติมให้เปร่งมากเท่าไหร่เวลายางโดนกระแทกก็ยิ่งมีโอกาสเสี่ยงที่ยางจะแตกได้มากขึ้นเท่านั้นเพราะนั้นการที่เราเติมลมให้อยู่ในค่าที่ยางรับได้สูงสุดตามที่ผู้ผลิตเขียนไว้จะเป็นการปลอดภัยต่อการใช้งานที่ดีที่สุด แต่ถ้าบรรทุก overload เกินไปก็ต้องบอกว่ามีโอกาสเสี่ยงยิ่งสูงขึ้นเรื่อยๆกับการใช้งานอาจเกิดเหตุระเบิดเมื่อไหร่ก็เป็นไปได้ครับพี่




แล้วเราจะมาดูยังไงว่ายางที่เราเลือกใช้ควรดูที่ไหนถ้าไม่ใช่ดูที่ชั้นผ้าใบ แน่นอนครับยางทุกเส้นจะมีดัชนีการรับน้ำหนักถ้ายิ่งมีดัชนีที่สูงมากขึ้นก็จะแปลว่ายางนั้นจะสามารถรับน้ำหนักได้สูงขึ้นครับ โดยย้ำนะครับว่าดัชนีรับน้ำหนัก ซึ่งต้องเอาไปเปรียบเทียบกับตารางอีกทีว่าดัชนีที่อยู่บนแก้มยางเทียบเท่ากับการรับน้ำหนักเท่าไหร่ เพื่อนๆหาเช็กและดูได้ครับว่ายางรุ่นไหนไซส์ไหนเหมาะสมกับการใช้งานของรถเราได้ดีที่สุดครับ

               เพราะฉะนั้นเพื่อนๆจะเห็นแล้วใช่ไหมครับว่า ถ้าเพื่อนๆอยากได้ยางที่แข็งแรงทนทานต่อการกระแทกและลดปัญหายางระเบิดเสียหายต้องเลือกยางที่มีชั้นผ้าใบเยอะๆโดยเฉพาะเพื่อนๆที่ขับรถบรรทุกสินค้า ก็ต้องเลือกยางที่เหมาะสำหรับการบรรทุกจริงๆ มีชั้นผ้าใบเยอะ และมีค่าดัชนีรับน้ำหนักให้เหมาะสมกับการใช้งานเพื่อให้ยางของเพื่อนๆนั้นทนต่อการใช้งานได้ โดยจากการคำนวณต้องคำนวณรถรวมคอกและน้ำหนักบรรทุกของ ส่วนสำหรับเพื่อนๆที่ใช้งานกระบะแบบออฟโรดก็เน้นว่ารถหลังจากตกแต่งช่วงล่างมีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้นเท่าใด และมาเทียกับดัชนีรับน้ำหนัก ส่วนชั้นผ้าใบก็อาจจะดูว่าเราลุยขนาดไหนเพื่อให้ยางคงทนพอ แต่ถ้าส่วนเพื่อนๆที่เป็นรถเก๋งรถและอเนกประสงค์ยางไซส์ที่ติดรถส่วนมากจะมีความสามารถในการรองรับไม่ว่าจะเป็นเรื่องของน้ำหนักในการบรรทุกและการใช้งานปกติได้แน่นอนครับ

               ไทร์บิดอยากจะลองยกตัวอย่างสำหรับรถกระบะบรรทุกของให้นิดนึงครับ เช่นรถกระบะโดยปกติจะมีน้ำหนักรถเปล่าอยู่ประมาณ 1.5 ตัน และ น้ำหนักตู้ อยู่ประมาณ 1 ตัน ซึ่งจะเทียบเท่ากับรถรวมตู้จะอยู่ที่ 2.5 ตันครับ สมมติเราเลือกใช้ยางไซส์ 215/70R15 นั้นจะมีดัชนีรับน้ำหนักอยู่ที่ 106 ซึ่งเทียบเท่ากับรับน้ำหนักได้ที่ 950 กิโลกรัม ซึ่งเรานำมาคูณ 4 จะเทียบเท่ายางสามารถรับน้ำหนักได้อยุ่ที่ 3.8 ตัน แปลว่า การที่เราบรรทุกของ ก็ไม่ควรที่จะเกิน 1.3 ตัน ก็จะเป็นการใช้งานที่พอดีกับตัวยางที่สามารถรับน้ำหนักได้ดี และ มีอัตราการรับแรงกระแทกได้ดีครับ

               หากเพื่อนๆสงสัยหรือไม่แน่ใจว่ายางที่เราเลือกนั้นเหมาะสมกับการใช้งานของเราไหม สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญยางรถยนต์ทางไทร์บิดได้ที่ Line official : @tiresbid หรือ ลองเข้าไปเช็กสเปกยางได้ที่ www.tiresbid.com ทางเรามียางที่ครบทุกกลุ่มการใช้งาน หลากหลายยี่ห้อให้ทางเพื่อนๆได้เลือกใช้ครับผม

2.ติดต่อไทร์บิด
- โทร : 090-986-8762 / 090-958-7416       
- Line Official : @tiresbid
https://lin.ee/717tUdr

- Inbox : m.me/Tiresbidonline     
- เวลาทำการ : วันจันทร์ - วันเสาร์ 08.30 - 17.30 น. (หยุดวันอาทิตย์)

- YouTube : http://bit.ly/TiresbidYoutube - Facebook Tiresbid Group : http://bit.do/TiresbidGroup