10 ชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่ควรมีติดรถ มีพร้อมไว้ยามฉุกเฉิน

อัพเดทเมื่อ Fri Apr 05 2024

https://tiresbid-images.s3.ap-southeast-1.amazonaws.com/2024-04-05/122610-1712294770-header-first-aid-kit-in-your-car.webp
     การเตรียมความพร้อมก่อนเดินทางนอกจากจะต้องตรวจเช็คสภาพรถให้พร้อมแล้ว การเตรียมชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้นเป็นอุปกรณ์ติดรถเอาไว้เสมอ ยังเป็นสิ่งสำคัญที่คุณไม่ควรมองข้ามเช่นกัน เพราะเป็นสิ่งที่ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บในที่เกิดเหตุ ให้ได้รับความปลอดภัยในเบื้องต้นก่อน
●    การปฐมพยาบาลคืออะไร?
●    ทำไมต้องมีชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้นติดรถ?
●    10 อุปกรณ์ปฐมพยาบาลที่ควรมีติดรถ
●    รวมวิธีการปฐมพยาบาลสำหรับบาดแผลที่พบบ่อย
●    รู้ใจรวม 6 เบอร์โทรฉุกเฉินที่ควรเมมเผื่อไว้

การปฐมพยาบาลคืออะไร?
การปฐมพยาบาล คือ การให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยหรือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ ณ สถานที่เกิดเหตุด้วยชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดยจะต้องทำทันทีหรือระหว่างการนำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาล เพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วยหรืออาการบาดเจ็บ ก่อนที่จะถึงมือบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งนอกจากชุดปฐมพยาบาลแล้วเราทุกคนควรศึกษาเรื่องการปฐมพยาบาลให้มากขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบเหตุได้อย่างถูกต้อง และส่งถึงมือหมออย่างปลอดภัย

ทำไมต้องมีชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้นติดรถ
หากยังมองภาพไม่ออกว่าทำไมถึงควรพกชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้นติดรถเอาไว้ เรารวบรวมจุดประสงค์ของการปฐมพยาบาลทั้ง 4 ข้อ ดังนี้
1.    เพื่อบรรเทาความเจ็บปวดทรมานของผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ
2.    เพื่อลดความรุนแรงของอาการบาดเจ็บให้เร็วที่สุด
3.    เพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วย หรือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุต่าง ๆ ในขณะนั้น
4.    ช่วยป้องกันความพิการ หรือความเจ็บปวดอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นตามมา

นอกจากการเตรียมพร้อมเรื่องของชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้นติดรถแล้ว อย่าลืมเรื่องของการเงินเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน การเตรียมพร้อมด้วยประกันรถยนต์จึงเป็นเรื่องจำเป็น เพราะประกันรถยนต์นอกจากช่วยคุณในเรื่องของทรัพย์สิน ยังมีความคุ้มครองการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตของบุคคลภายนอกที่พรบ.อาจไม่ครอบคลุมอีกด้วย ที่รู้ใจ ประกันออนไลน์ มีประกันรถยนต์ชั้น 1 ช่วยคุณประหยัดถึง 30% ปรับแผนความ คุ้มครองได้ตามใจ มีอู่และศูนย์ในเครือทั่วไทย เช็คราคาประกันรถยนต์ได้เลย ให้รู้ใจเป็นเพื่อนที่พร้อมเดินทางกับคุณได้ในทุกเส้นทาง

รู้ใจรวม 6 เบอร์โทรฉุกเฉินที่ควรเมมเผื่อไว้
หากเกิดอุบัติเหตุขึ้น นอกจากอุปกรณ์ปฐมพยาบาลฉุกเฉินที่เราติดรถไว้แล้ว ควรตั้งสติแล้วโทรเบอร์ฉุกเฉินเพื่อแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือให้เร็วที่สุด โดยเบอร์ที่ควรเมมไว้มีดังนี้
191 – โทรหาตำรวจแจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย
1193 – ตำรวจทางหลวง (หากเกิดอุบัติเหตุบนทางหลวง)
1146 – กรมทางหลวงชนบท (หากเกิดอุบัติเหตุบนทางหลวงชนบท)
1669 – โทรเรียกรถพยาบาล/หน่วยแพทย์ฉุกเฉิน
199 – โทรเรียกเจ้าหน้าที่ดับเพลิง หากเกิดไฟไหม้ในที่เกิดเหตุ
02 582 8844 – แจ้งอุบัติเหตุ/ช่วยเหลือฉุกเฉิน 24 ชม. สำหรับลูกค้ารู้ใจ
 

10 อุปกรณ์ปฐมพยาบาลที่ควรมีติดรถ?
ชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้นถือเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องใช้ในการเดินทาง ดังนั้นการเตรียมเอาไว้ให้พร้อมถือเป็นสิ่งที่ดีมาก โดยควรเก็บไว้ในกล่องที่มีฝาปิดสนิทหรืออุปกรณ์ที่สามารถกันน้ำได้ รวมถึงมีเบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉินของหน่วยงานต่าง ๆ เอาไว้ด้วยอาจเขียนแล้วติดกล่องไว้ และสำหรับชุดปฐมพยาบาลที่ควรมี มีดังต่อไปนี้
1.    ถุงมือ: สำหรับผู้ช่วยเหลือ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ช่วยเหลือสัมผัสกับเลือด อาเจียน รวมถึงสารคัดหลั่งต่าง ๆ ของผู้บาดเจ็บ
2.    ยาล้างแผล: ยาฆ่าเชื้อ น้ำเกลือ หรือแอลกอฮอล์ 70%
3.    ผ้าทำแผล/พลาสเตอร์เทปปิดแผลขนาดต่าง ๆ: สำหรับปิดแผลหลังจากล้างทำความสะอาดแล้ว
4.    กรรไกร: ใช้ตัดผ้าก๊อซหรือตัดผ้า ขากางเกง เมื่อเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน
5.    ผ้าปิดตา: ใช้สำหรับการบาดเจ็บที่นัยน์ตา เช่น ถูกกระจกบาดตา
6.    เข็มกลัด: ใช้ติดผ้าสามเหลี่ยม ผ้ายืด หรือผ้าคล้องคอ
7.    สำลี ไม้พันสำลี: ใช้สำหรับทายาล้างแผลรอบ ๆ
8.    ผ้ายืด: ใช้สำหรับพันเมื่อเกิดการบาดเจ็บบริเวณกล้ามเนื้อ ข้อต่อ เพื่อลดการเคลื่อนไหว และลดอาการบวม หรือใช้สำหรับยึดกับอุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อดามกระดูก นอกจากนี้ยังสามารถใช้พันกับผ้าก๊อซ หรือพลาสเตอร์ปิดแผลเพื่อห้ามเลือดได้อีกด้วย
9.    ผ้าคล้องแขน: ผ้าคล้องแขนใช้สวมใส่แขน ช่วยพยุงหัวไหล่และแขน
10.    ถุงพลาสติก: สำหรับใส่เศษขยะ

รวมวิธีการปฐมพยาบาลสำหรับบาดแผลที่พบบ่อย
เมื่อเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน แล้วมีคนได้รับบาดเจ็บ เราควรตั้งสติและเริ่มการปฐมพยาบาลทันที อุปกรณ์ปฐมพยาบาลที่เราติดรถไว้จะช่วยบรรเทาอาการบาดเจ็บได้ตอนนี้ล่ะ โดยรู้ใจรวมวิธีการปฐมพยาบาล 4 บาดแผลที่พบมาก ดังนี้
1.    แผลฟกช้ำ ให้ประคบเย็น หากฟกช้ำบริเวณข้อต้องลดการเคลื่อนไหวโดยใช้ผ้าพันแผล ห้ามนวดหรือกดแผลฟกช้ำ
2.    แผลถลอก ล้างแผลด้วยน้ำเย็น ฟอกสบู่ และทายาทาแผลสด แต่หากแผลเลือดไหลไม่หยุดควรรีบพบแพทย์ให้ไวที่สุด
3.    แผลไฟไหม้ ล้างแผลด้วยน้ำอุณหภูมิปกติ แล้วพันแผลด้วยผ้าสะอาด หากมีเครื่องประดับควรถอดออก และที่สำคัญคือ ห้ามใช้น้ำแข็ง น้ำเย็นล้างแผลเด็ดขาด
4.    แผลถูกบาด ล้างน้ำสะอาด ทำความสะอาดด้วยน้ำเกลือหรือแอลกอฮอล์ และตามด้วยการทาแผลสด

อุปกรณ์ทำแผลเบื้องต้นนี้เป็นของใช้ในรถที่สามารถช่วยเหลือผู้บาดเจ็บได้ในทันที ไม่ว่าจะสถานการณ์ใดก็ตาม การมีอุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้น นอกจากจะช่วยคลายความเจ็บปวดลงได้ยังช่วยให้ผู้บาดเจ็บได้รับความปลอดภัยในระดับหนึ่ง จึงเป็นเหตุผลที่คุณควรมีอุปกรณ์ทำแผลไว้ใกล้ตัวมากที่สุด และอย่าลืมขอความช่วยเหลือจากเบอร์โทรฉุกเฉิน เช่น ตำรวจ รถพยาบาล กู้ภัย เพื่อส่งต่อผู้บาดเจ็บถึงมือหมออย่างปลอดภัย

การเดินทางไปที่ไหนสักที่ การเตรียมความพร้อมถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่ไม่ควรมองข้าม ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ต่าง ๆ หรือสภาพรถก็ควรเช็คให้พร้อมก่อนออกเดินทางทุกครั้ง ถ้าจะให้ดีอย่าลืม “ซื้อประกันภัยรถยนต์” ที่ให้ความคุ้มครองอย่างครอบคลุมเอาไว้ด้วย เพียงเท่านี้ก็จะช่วยให้การเดินทางของคุณราบรื่น ปลอดภัย และอุ่นใจจนจบทริปเลยล่ะ

สามารถติดตามข่าวสาร สาระความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รวมถึงประกันภัยออนไลน์ต่าง ๆ จากรู้ใจได้ที่ Facebook Page: Roojai หรือคลิกที่นี่เพื่อเพิ่มเราเป็นเพื่อนใน LINE ได้เลย (Official Line ID: @roojai)